วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

สรุปเนื้อหาสัปดาห์ที่ 1

การแปลงเลขฐาน
ระบบเลขฐาน 2 (Binary Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 2 ตัว ได้แก่เลข 0 กับ เลข 1 ซึ่งเป็นเลขฐานที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ง่าย เพราะว่าอุปกรณ์ทางไฟฟ้าก็มีสถานะเพียง 2 สถานะ คือ เปิด กับ ปิด ซึ่งก็เทียบได้กับ 0 กับ 1 แต่ถ้าใช้เลขฐาน 10 ในคอมพิวเตอร์อาจจะเกิดปัญหาอย่างอื่นตามมา หรือแม้แต่อุปกรณ์ทางไฟฟ้า ก็ต้องแบ่งสถานะออกเป็น 10 สถานะ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมนัก การเก็บข้อมูลในระบบของคอมพิวเตอร์ก็จะจัดเก็บเป็นกลุ่มตัวเลขฐานสองหลายบิต ขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งที่ต้องการเก็บ และหน่วยความจำที่ใช้
ระบบเลขฐาน 8 (Octal Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 8 ตัว ซึ่งประกอบด้วยเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ซึ่งเป็นเลขฐานที่เพิ่มเนื้อที่หน่วยความจำในการเก็บให้มากขึ้น การเก็บข้อมูลเป็นเลขฐาน 8 จะทำให้เก็บข้อมูลได้มากขึ้น
ระบบเลขฐาน 10 (Decimal Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว ซึ่งประกอบด้วยเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ซึ่งระบบเลขฐาน 10 เป็นระบบเลขฐานที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันซึ่งใช้มาตลอด สามารถจำได้และคำนวณได้ง่ายกว่าเลขฐานอื่น ๆ
ระบบเลขฐาน 16 (Hexadecimal Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัวและตัวอักษรแทนตัวเลขอีก 6 ตัว ซึ่งประกอบด้วยเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และตัวอักษรภาษาอังกฤษแทน 10 ถึง 15 ได้แก่ A, B, C, D, E, F ซึ่งก็จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าระบบเลขฐาน 2 ฐาน 8

Big Endian &Little Endian


Big Endian & Little Endian ก็คือ การจัดเรียงค่าของไบต์ของหน่วยความจำในการเก็บค่าตัวเลขจำนวนมากกว่า 1 ไบต์ในหน่วยความจำซึ่งมีอยู่ 2 แบบได้แก่แบบ Big Endian และแบบ Little Endian โดยซีพียูที่ใช้แบบ Big Endian จะได้แก่ 68k หรือ 68000 ของโมโตโรล่า, SPARC ของ Sun, MIPS ของ Silicon Graphics และ PA-RISC ของ HPส่วนสถาปัตยกรรมที่ใช้แบบ Little Endian จะได้แก่ 80×86 ของอินเทล และ Alpha ของ Compaq
โดยที่ Big Endian นั้นจะใช้แอดเดรสไบต์ต่ำสุดเก็บค่าของข้อมูลไบต์สูงสุดของเวิร์ด ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบ Little Endian จะเก็บไบต์ต่ำสุดของเวิร์ดด้วยแอดเดรสไบต์ต่ำสุดและเก็บค่าไบต์สูงสุดของเวิร์ดไว้ในแอดเดรสไบต์สูงสุด

การปัดค่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น